กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ เปิดมุมมองการลงทุนปี 67 ชี้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว แนะลงทุน ‘ตราสารหนี้-กองทุนหุ้นเทคฯ’ รับยุคดอกเบี้ยขาลง
กรุงเทพฯ (14 กุมภาพันธ์ 2567) – กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ เปิดมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุ
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจโลกปีนี้ ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (จำกัด) มหาชน มองว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว โดยแรงหนุนหลักมาจากภาคบริการ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังคงชะลอตัว เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศ โดยมองว่าวัฎจักรการขึ้นดอกเบี้ยได้สิ้นสุดแล้ว และปัจจุบันอยู่ในช่วงนับถอยหลังสู่การปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งหากเจาะลึกลงไปในประเทศหลักๆ จะพบว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯยังคงชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Soft Landing) โดยในปีนี้จะชะลอลงจากปีก่อน แต่ยังไม่น่ากังวลมากนัก และคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางปีเป็นต้นไป ในส่วนของยูโรโซน ถึงแม้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาสามารถพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาได้อย่างหวุดหวิด อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของยูโรโซนจะยังคงฟื้นตัวช้าเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ จึงอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าสหรัฐฯ สำหรับญี่ปุ่น เศรษฐกิจในปีที่ผ่านมามีการฟื้นตัวและเติบโตขึ้น 1-2% เนื่องจากได้รับอานิสงค์จากการเปิดประเทศ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจในปีนี้จะเริ่มชะลอตัว และด้วยเงินเฟ้อที่ระดับ 2% จึงคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะมีการปรับนโยบายขึ้นมาเป็นบวก ทางฝั่งของจีน เศรษฐกิจในปีนี้น่าจะชะลอตัวอยู่ที่ระดับ 4-6% จากเดิมปีที่แล้วอยู่ที่ 5% โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงยืดเยื้อ และส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน สำหรับประเทศกลุ่ม ASEAN 5 ได้แก่ ไทย อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ คาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7% สูงขึ้นจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 4.2% นับเป็นหนึ่งในไม่กี่ภูมิภาคที่มีการเติบโตที่ดี
ในส่วนของไทย ปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวดีกว่าปีก่อนหน้า โดยปัจจัยที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจไทย คือ 1) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวซึ่งส่งผลให้การจ้างงานและภาคการบริโภคฟื้นตัวตามไปด้วย 2) การใช้จ่ายของภาครัฐจะเริ่มกลับมาทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่หลังจากพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2567 ผ่านสภาในช่วงเมษายน-พฤษภาคม ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงยังคงเกิดจากการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวต่อเนื่อง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่จะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ของเศรษฐกิจไทยเช่น ภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ต้นทุนสูง ปัญหาเชิงโครงสร้าง ตลอดจนความไม่แน่ในเชิงนโยบาย
เกาะกระแส AI เปิดมุมมองโอกาสหุ้นเทคฯ ยังไปต่อได้
จากกระแสและการเติบโตของ Generative AI ซึ่งมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุน นายเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรณ์ CFA ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนทางเลือก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด ได้แชร์มุมมองโอกาสการลงทุนจากกระแสของ AI โดยสรุปว่า นักลงทุนสามารถมองหาโอกาสการลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่อยู่ใน Value Chain ทั้งหมดของ AI ได้ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ หรือ Chip ได้แก่ NVIDIA AMD และ TSMC และกลุ่ม Data Infrastructure ซึ่งเป็นกลุ่มข้อมูลที่ใช้ในการเทรนด์เอไอ รวมถึงแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ที่ผู้บริโภค หรือ End User ใช้งาน ซึ่งหลังจากนี้จะได้เห็นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ มากมาย
หากเจาะจงที่หุ้นในกลุ่ม 7 นางฟ้า หรือ Magnificent 7 ซึ่งประกอบด้วย Apple (AAPL) Amazon (AMZN) Meta Platforms (META) Alphabet (GOOGL) Microsoft (MSFT) Nvidia (NVDA) และ Tesla (TSLA) พบว่าในปีที่ผ่านมามีการปรั
ด้าน นายณพกิตติ์ จันทานานนท์ Southeast Asia Client Business Representative BlackRock กล่าวเสริมว่า ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนจะโฟกัสกลุ่มผู้เล่นที่
ขณะที่ Mr. Nicholas Tong Head of Intermediary, Southeast Asia T. Rowe Price ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุน KFGTECH ซึ่งบริหารจัดการโดย T. Rowe Price ว่า กองทุนดังกล่าวเน้นการลงทุนในภาพใหญ่ของเทคโนโลยี และเป็นการลงทุนแบบ Bottom Up ขุดหาหุ้นมาลงทุนเป็นรายตัว ซึ่งปีที่แล้วสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 62% โดยจะให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้เล่นที่เป็น Backbone สำคัญของ AI ซึ่งยังคงมีดีมานต์มหาศาล และมีพื้นฐานที่แข็งแรง
ทั้งนี้ จุดเด่นของกองทุนรวมทั้งสองเป็นกลุ่ม General Tech ไม่ได้ลงทุนเฉพาะหุ้นกลุ่ม AI แต่ด้วยกระแสและโอกาส สัดส่วนการลงทุนในกลุ่ม AI จึงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ โดยกอง KFHTECH ของ BlackRock จะเป็นการสร้างพอร์ตแบบ Core & Opportunistic Holding คือ ลงทุนกลุ่ม Core 40-50% ขณะที่ลงทุนในกลุ่ม Opportunistic 50-60% ด้วยน้ำหนักที่น้อย แต่จะกระจายการลงทุนในหุ้นจำนวนมาก ให้ผลตอบแทนในระยะกลาง-ยาวที่ดีกว่า ผันผวนน้อยกว่า และผลตอบแทนสม่ำเสมอ ขณะที่กองทุน KFGTECH ของ T. Rowe Price เป็นสไตล์การลงทุนแบบ Highly Active และเปลี่ยนแปลงทุก 6 เดือน ซึ่งมีโอกาสทำกำไรได้มากกว่าในช่วงที่ตลาดขาขึ้น
แนะจัดพอร์ตการลงทุนด้วย 3 ธีมหลัก เน้น ‘ตราสารหนี้-กองทุนหุ้นเทคฯ’
ด้านนายวิรัตน์ วิทยศรีธาดา CFA ผู้บริหารฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์และที่ปรึกษาการลงทุน และหัวหน้าทีม Krungsri Investment Intelligence ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้สรุปมุมมองการลงทุนในปีนี้ผ่าน 3 ธีมหลัก ได้แก่ ธีมที่หนึ่ง สำหรับช่วงดอกเบี้ยขาลง แนะนำลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ เช่น KF-CSINCOM ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก PIMCO GIS Income โดยจากข้อมูลในอดีตชี้ให้เห็นว่าหากเข้าลงทุนในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยตลาดอยู่ในระดับสูงจะให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะหน้า ซึ่งในช่วง 1-3 ปีต่อจากนี้ อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาลงจึงเป็นโอกาสของการลงทุนตราสารหนี้
ในส่วนของตลาดหุ้น ช่วงที่ผ่านมาตลาดอยู่ในช่วงขาลงเพราะสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจากข้อมูลในอดีตจะเห็นว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักให้ผลตอบแทนที่ดีหลังจากที่เฟดลดดอกเบี้ยครั้งแรกและเศรษฐกิจไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วง Q4 งบของบริษัทจดทะเบียนค่อนข้างดี และนักวิเคราะห์ยังปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสองปัจจัยที่ผลักดันตลาดหุ้นคือ ดอกเบี้ยที่เป็นเทรนด์ขาลง และกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม จุดที่น่ากังวลของตลาดคือ หุ้นโดยเฉพาะหุ้นเทค P/E ที่ 20 เท่า ซึ่งราคาค่อนข้างสูง ทำให้การ Upside ของตลาดหุ้นจำกัดจากเรื่องของมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐาน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการลงทุนในธีมที่สอง เมื่อเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว แนะนำลงทุนหุ้นในกลุ่ม Defensive อย่างเช่นกองทุน KFGBRAND ซึ่งกระจายการลงทุนหุ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค สุขภาพ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังคงมีกำไรที่แข็งแกร่งแม้ในช่วงวิกฤต โดยจากผลตอบแทนรายปีในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า ในช่วงวิกฤติกองทุนดังกล่าวไม่ได้ปรับลงมากเท่าตลาด และยังสามารถปรับขึ้นได้ในบางช่วงอีกด้วย และธีมที่สาม ด้วยเทรนด์การเติบโตของ Generative AI อาจส่งผลให้หุ้นกลุ่มเทคมีราคาสูง แต่ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก จึงแนะนำกองทุนอย่าง KFHTECH ที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีต่างๆ เป็นหลัก ซึ่งคาดว่ารายได้จากกลุ่มธุรกิจเทคฯ จะเติบโตเฉลี่ย 42% ต่อปีในช่วง 10 ปีข้างหน้า
ชี้เป้าหุ้นไทย ‘โรงพยาบาล-ICT-แฟชั่น’ คาดดัชนีฯ 1,465-1,717 จุด
ด้านนายอิสระ อรดีดลเชษฐ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่